Property Insight

คู่ไหนก็สร้างอนาคตด้วยกันได้ “กู้ร่วม” ยังไงให้ได้ “คอนโด

June 13, 2022
คู่ไหนก็สร้างอนาคตด้วยกันได้​
“กู้ร่วม” ยังไงให้ได้ “คอนโด”

MTR_LP_DLP-กู้ร่วม_blog-thumbnail.jpg

เพราะรักชนะทุกสิ่ง ถ้าอยากได้อะไร หากตั้งใจและพร้อมต่อสู้ทุกอุปสรรค ฝันนั้นก็คงไม่ไกลความเป็นจริง เมื่อคนเราเริ่มต้นชีวิตคู่ สเต็ปต่อไปหากคิดอยากมีบ้านเพื่อเป็นเรือนหออาศัยอยู่ร่วมกัน แต่หากตัวคนเดียวไม่ไหว ก็ยังมีทางออก! และเนื่องจากเดือนมิถุนายนนี้ ถือเป็นเดือนเฉลิมฉลองเทศกาล Pride Month วันนี้เราจึงอยากนำเสนอสาระสำคัญของการกู้ร่วม ครอบคลุมถึงการกู้ร่วมกันของกลุ่ม LGBTQ+ ที่สามารถขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยได้ไม่ต่างจากเพศชายและเพศหญิง โดยที่บางธนาคารไม่ได้ประเมินความเสี่ยงของผู้กู้ LGBTQ+ ไว้มากกว่าเพศชายหรือเพศหญิงเลยล่ะ แต่ก่อนที่จะตัดสินใจมีบ้านร่วมกัน…เรารู้จักการกู้ร่วมดีพอหรือยัง? ถ้าคิดว่ายังหรือไม่แน่ใจ ไปทำความเข้าใจพร้อมกันเลย

 MTR_LP_DLP-กู้ร่วม_2.jpg


กู้ร่วมคืออะไร? ทำไมต้องกู้ร่วม?

เพราะไม่ว่าจะเป็นคอนโดหรือบ้าน ถือเป็นทรัพย์สินชิ้นใหญ่ที่ใครๆ ก็ใฝ่ฝันจะครอบครอง และแน่นอนว่าต้องใช้เงินก้อนใหญ่ในการได้มันมา แต่สำหรับคนที่มีรายได้ไม่สูงนัก หรือมีภาระค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ ถ้าหากกู้ขอสินเชื่อคนเดียวก็อาจมีสิทธิ์ไม่ผ่านเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด จึงต้องอาศัย “การกู้ร่วม” เพื่อทำให้การยื่นขอสินเชื่อผ่านการพิจารณาอนุมัติจากธนาคารได้ง่ายขึ้น และได้รับวงเงินก้อนใหญ่มากขึ้น ซึ่งการหาคนมากู้ร่วมเป็นทางออกสำหรับผู้กู้หลักที่มีเงื่อนไขไม่ครบพอที่จะทำให้ธนาคารอนุมัติสินเชื่อได้นั่นเอง

 MTR_LP_DLP-กู้ร่วม_3.jpg


LGBTQ+ ก็กู้ร่วมได้

แม้ว่ากู้ร่วมในการซื้อที่อยู่อาศัยจะเพิ่มโอกาสให้กู้ซื้อบ้านง่ายขึ้น หรือได้วงเงินที่สูงขึ้น แต่ใช่ว่าเราจะหาใครก็ได้มากู้ร่วมได้ ซึ่งธนาคารต่างๆ มักมีเงื่อนไขเกี่ยวของผู้กู้ร่วมกำหนดเอาไว้ ปัจจุบันคุณสมบัติของผู้กู้ร่วมจากหลายๆ ธนาคาร มีดังนี้

  1. คนที่มีนามสกุลเดียวกัน เช่น พี่-น้อง พ่อ-แม่-ลูก
  2. พี่-น้องท้องเดียวกัน แม้จะคนละนามสกุลก็สามารถกู้ร่วมได้ โดยต้องแสดงทะเบียนบ้านหรือสูติบัตรระบุว่ามีพ่อแม่คนเดียวกัน
  3. สามี-ภรรยา แม้จะไม่ได้จดทะเบียนสมรสก็กู้ร่วมกันได้ แต่ต้องแสดงหลักฐานการเป็นสามี-ภรรยากัน เช่น ภาพถ่ายหรือการ์ดงานแต่งงาน หนังสือรับรองบุตร
  4. คู่รัก LGBTQ+ ผู้กู้ต้องมีเอกสารหรือหลักฐานแสดงความสัมพันธ์หรือการอยู่ร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นระยะเวลาตามที่ธนาคารกำหนด เช่น ทะเบียนบ้านที่อยู่ด้วยกัน, บัญชีเงินฝากที่เปิดร่วมกัน เป็นต้น หรือตามที่เงื่อนไขแต่ละธนาคารกำหนด

 MTR_LP_DLP-กู้ร่วม_4.jpg


เรื่องควรรู้ กู้ร่วมไม่ยากอย่างที่คิด

  1. กู้ร่วมไม่ได้แปลว่าต้องหารหนี้เท่า ๆ กัน

ทุกคนจะต้องรับผิดชอบหนี้สินก้อนนี้ร่วมกัน ดังนั้นถ้าผิดชำระหนี้หรือถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาด ธนาคารมีสิทธิ์จะเรียกชำระหนี้จากใครก็ได้ที่เป็นผู้กู้ร่วม

  1. การใส่ชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์

การกู้ร่วมอสังหาริมทรัพย์จะมีอยู่ 2 แบบคือ “ใส่ชื่อคนเดียวเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์” แบบนี้ง่ายและสะดวก แต่ผู้กู้ร่วมจะไม่มีกรรมสิทธิ์ใด ๆ ในอสังหาฯ นั้น กับอีกแบบคือ “ใส่ชื่อผู้กู้ร่วมทุกคนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์” แบบนี้ทุกคนจะมีสิทธิ์เท่าๆ กัน แต่หากต้องการขายอสังหาฯ นั้น จะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ถือกรรมสิทธิ์ทุกคน

  1. การกู้ร่วมระหว่างคู่รัก LGBTQ+

เนื่องจากบางธนาคารอาจประเมินว่ามีความเสี่ยงที่สูงกว่าการกู้ร่วมระหว่างคู่สมรสชายหญิง และสูงกว่าการกู้ร่วมชายหญิงซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรส ซึ่งการรับรู้ความเสี่ยงที่สูงกว่าทำให้ธนาคารอาจพิจารณาให้วงเงินกู้ที่ต่ำกว่าไปบ้าง เมื่อเทียบกับการกู้ร่วมในคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรส โดยบางธนาคารอาจจะสามารถกู้ได้สูงสุด 90-95% เท่านั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติผู้กู้ร่วมและความมั่นคงทางอาชีพหรือการเงินของผู้กู้เป็นหลักด้วยนั่นเอง

  1. สิทธิ์ลดหย่อนภาษี

สิทธิ์ลดหย่อนภาษีจะหารเฉลี่ยตามจำนวนผู้กู้ จะแบ่งกันเองไม่ได้ แต่จะลดหย่อนรวมได้สูงสุดเพียง 100,000 บาท (ถ้ากู้ร่วม 2 คน นั่นหมายความว่าลดหย่อนได้สูงสุดคนละ 50,000 บาท)

  1. ถ้าผู้กู้ร่วมเสียชีวิต

กรณีผู้กู้ร่วมเสียชีวิตจะต้องแจ้งธนาคาร มิเช่นนั้นสัญญาจะไม่เปลี่ยนแปลง จากนั้นทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้เสียชีวิต (ที่ธนาคารประเมินแล้วว่าสามารถจ่ายหนี้ได้) จะเข้ามารับช่วงต่อการผ่อนชำระ

ทั้งนี้ เมื่อลงชื่อกู้ร่วมแล้วจะยกเลิกได้มั้ย? คำตอบก็คือ ถอนชื่อกู้ร่วมได้ ต่อเมื่อธนาคารพิจารณาแล้วว่าผู้กู้ร่วมที่เหลืออยู่สามารถผ่อนชำระไหว หรือใกล้หมดสัญญาแล้ว แต่ถ้าธนาคารเห็นว่าคนที่เหลืออยู่ผ่อนไม่ไหว ก็ต้องหาคนอื่นมากู้ร่วมแทน ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยาก ดังนั้น เราสามารถศึกษาวิธีการเลือกสินเชื่อบ้านให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์ต่อตัวเราเองได้ รวมไปถึงศึกษารายละเอียดการเตรียมเอกสารเพื่อขอกู้บ้านได้จากธนาคารที่เราสนใจนั่นเอง

MTR_LP_DLP-กู้ร่วม_5.jpg


เลือกแบงค์ดี
LGBTQ+ ผ่านฉลุย​
กู้วันนี้ อยู่ได้เลย ที่ เมทริส ลาดพร้าว
วางแผนกู้ ดูคอนโดใหม่​ ที่ เมทริส ดิสทริค ลาดพร้าว

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ยังไม่มีความพร้อมทางการเงิน หรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเรื่องการกู้ร่วม กังวลเรื่องกู้ไม่ผ่าน ไม่แน่ใจจะปรึกษาใครดี และอาจอยู่ระหว่างการวางแผนซื้อที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะคอนโดมิเนียม วันนี้ทางเมเจอร์ฯ พร้อมยื่นข้อเสนอพิเศษจากโครงการ เมทริส ลาดพร้าว และ เมทริส ดิสทริค ลาดพร้าว ต้อนรับเทศกาล Pride Month ไม่ว่าคุณจะเป็นเพศไหนหรือสถานะอะไร เรายินดีให้คุณสามารถโทรมาปรึกษากับเจ้าหน้าที่ของเราที่พร้อมช่วยดูแลให้คำปรึกษาอยู่เคียงข้างคุณ และดูแลคุณจนได้เป็นเจ้าของคอนโดหลังแรกตามฝัน


ชอบชีวิตแบบไหน พร้อมเมื่อไหร่ ก็มีให้คุณเลือกถึง 2 โครงการ ใครอยากเป็นเจ้าของไว เมทริส ลาดพร้าว คอนโดพร้อมอยู่ คือคำตอบ แต่สำหรับใครที่อยากมีเวลาเก็บเงินอีกซักนิด หรือกลุ่มคู่รัก LGBTQ+ ที่กังวลเรื่องต้องเตรียมเอกสารรับรองการอยู่ร่วมกันที่จะทำให้ธนาคารอนุมัติ และอยากรอคอนโดโครงการใหม่ที่ฟังก์ชั่นถูกใจอย่าง เมทริส ดิสทริค ลาดพร้าว ก็พร้อมตอบโจทย์คุณได้ทุกเมื่อ เพราะเราอยากให้คุณได้เป็นเจ้าของคอนโดทำเลดี ใจกลางลาดพร้าว เดินทางสะดวก และลงทุนคุ้มค่า